เมนู

83. อรรถกถานิปันนัญชลิกเถราปทาน


อปทานของท่านพระนิปันนัญชลิกเถระ มีคำเริมต้นว่า รุกขมูเล
นิสินฺโนหํ
ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าติสสะ เจริญวัยแล้วบวชบำเพ็ญรุกขมูลิกังค-
ธุดงค์อยู่ในป่า. สมัยนั้นอาพาธกล้าเกิดขึ้น ท่านถูกอาพาธนั้นบีบคั้น
เป็นผู้น่าสงสารอย่างยิ่ง. ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไป ณ ที่นั้น
ด้วยมีพระกรุณาแก่ท่าน. ขณะนั้นท่านนอนอยู่นั่นแล ไม่สามารถจะลุกได้
จึงประคองอัญชลีเหนือเศียรแล้ว ได้กระทำการนอบน้อมพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า. ท่านจุติจากอัตภาพนั้นแล้วเกิดในภพชั้นดุสิต เสวยสมบัติใน
ภพนั้น แล้วเสวยสมบัติในชั้นกามาวจรสวรรค์ 6 ชั้นด้วยอาการอย่างนี้
ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว
เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์. ด้วย
อำนาจบุญกรรมที่ตนทำไว้ในกาลก่อน ท่านจึงปรากฏโดยนามว่า นิปัน-
นัญชลิกถระ ดังนี้.
ครั้นภายหลัง ท่านตรวจดูบุญสมบัติของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า รุกฺขมูเล นิสินฺโนหํ
ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ชื่อว่า รุกขะ เพราะงอกคือ
ชูขึ้นเบื้องบน ๆ อธิบายว่า ที่โคนคือที่ใกล้แห่งควงต้นไม้นั้น. บทว่า

พฺยาธิโต ปรเมน จ ความว่า ถูกโรคคือพยาธิอย่างแรงกล้าอย่างยิ่ง
เบียดเบียน คือเราประกอบด้วยพยาธิ. บทว่า ปรมการุญฺญปฺปตโตมฺหิ
เชื่อมความว่า เป็นผู้ถึงความน่าสงสาร ความเข็ญใจ ความทุกข์ยากอย่างยิ่ง
ในป่านั้น.
บทว่า ปญฺเจวาสุํ มหาสิขา ความว่า มวยผมท่านเรียกว่า สิขา
เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องประดับศีรษะ อธิบายว่า สิขะ เพราะท่านมี
มกุฎโชติช่วงด้วยแก้วมณี ท่านเป็นจักรพรรดิ 5 ครั้ง มีพระนาม
อย่างเดียวกันว่า จักรพรรดิ. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้น
แล.
จบนิปันนัญชลิกเถราปทาน

อโปุปผิยเถราปทานที่ 4 (84)


ว่าด้วยผลการโปรยดอกไม้บูชา


[86] ภิกษุชื่ออภิภู เป็นอัครสาวกของพระพุทธเจ้าพระนามว่า
สิขี มีอานุภาพมาก บรรลุวิชชา 3 เข้ามาสู่ภูเขาหิมวันต์

ในกาลนั้น แม้เราก็เป็นฤาษีผู้ชำนาญในอัปปมัญญาและ
ฤทธิ์ อยู่ในอาศรม รมณียสถาน ใกล้ภูเขาหิมวันต์ เรา
ปรารถนาภูเขาอย่างยิ่ง เปรียบเหมือนนกในอากาศปรารถนา
อากาศฉะนั้น เราเก็บดอกไม้ที่เชิงเขาแล้ว มาสู่ภูเขา.

หยิบดอกไม้ 7 ดอกโปรยลงเบื้องบนพระเศียร เราอัน
พระวีรเจ้าแลดูแล้ว เดินบ่ายหน้าไปทางทิศปราจีน.

เรามุ่งไปสู่ที่อยู่ ถ้งอาศรมแล้วเก็บหาบเครื่องบริขาร แล้ว
เดินไปตามระหว่างภูเขา.

งูเหลือมเป็นสัตว์ร้ายกาจ มีกำลังมาก รัดเรา เราระลึก
ถึงบุพกรรม ได้ทำกาละ ณ ที่นั้น.

ในกัปที่ 31 แต่กัปนี้ เราโปรยดอกไม้ใด ด้วยกรรมนั้น
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วยดอกไม้.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 และ
อภิญญา 6 เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว
ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอโธปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบอโธปุปผิยเถราปทาน